ใน การวัดอุณหภูมิมักอาศัยตัวแปรสัญญาณเชิงกลหรือ เชิงไฟฟ้าแบบต่างเปลี่ยนค่าอุณหภูมิเป็นค่าแปร
มูลฐาน อันได้แก่ การเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง, ความดัน (หรือแรงหรือแรงปิด) แรงดันไฟฟ้า (หรือกระแส
ไฟฟ้า), impedance แล้วส่งเข้าเครื่องวัดทำการเปลี่ยนค่าแปรมูลฐานดังกล่าวเป็น การเปลี่ยนแปลง
ตำแหน่งขั้นสุดท้าย เพื่อ indicator หรือ record หรือไปขับกลไกในเครื่องควบคุมต่อไป
การ เลือกใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมกับงาน เนื้อที่ว่างและสภาพ
แวดล้อมของจุดวัด ช่วงอุณหภูมิที่ต้องการวัด ความจำเป็นของการวัดจากที่ไกล ความละเอียดแม่นยำ
และความวางใจได้ (Reliability) ของค่าวัด ความทนทาน และความสะดวกในการใช้และบำรุงรักษา
ตลอดจนราคาเชิงเศรษฐกิจ เป็นต้น
ในวงการอุตสาหกรรมในปัจจุบัน การวัดอุณหภูมิเชิงไฟฟ้า โดยใช้thermocouple และความ
ต้านทานไฟฟ้า เป็นแบบที่ใช้มากที่สุดคือมากว่าครึ่งหนึ่งของการวัดอุณหภูมิทั้งหมด ทั้งนี้เป็น
เพราะตัววัดทั้งสองมีช่วงวัดอุณหภูมิที่เหมาะสม, มีความละเอียดแม่นยำสูง, สามารถวัดจากที่
ไกลได้ และสัญญาณที่ส่งออกเป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสะดวกในการใช้ร่วมกับเครื่องวัด เครื่อง
บันทึก หรือเครื่องควบคุมแบบไฟฟ้าได้
ส่วน การวัดอุณหภูมิเชิงกล โดยใช้ตัววัดแบบกระเปาะบรรจุของเหลวนั้น ยังคงนิยมใช้กันอยู่
มาก เพราะตัววัดแบบนี้ไม่ต้องอาศัยพลังขับดันอื่นมาช่วย, แข็งแรงทนทาน, สะดวกในการใช้
และบำรุงรักษา
2. วิธีการวัดอุณหภูมิ (Method of Temperature Measurement) มี 2 แบบ คือ แบบสัมผัส
(Contact Meas.) และแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Meas.)