โรครากเน่าโคนเน่าในขนุน
เตือนภัยกษตรกรผู้ปลูกขนุน เฝ้าระวัง "โรครากเน่า?โคน?เน่า?ในขนุน"
Last Update : 10:07:29 17/10/2019
โรคสแคปในมะม่วง
โรคสแคปในมะม่วง? Mango scab สาเหตุ?เกิดจาก?เชื้อ?รา? Elsino?? mangiferae? Bitanc.? &? Jenkins
Last Update : 10:07:08 17/10/2019
หนอนเจาะฝักลายจุด
เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาว เร่งเฝ้าระวัง หนอนเจาะฝักลายจุด (Bean pod-borer) เข้าทำลายถั่วฝักยาว ทั้งในระยะติดดอกและออกฝัก
Last Update : 13:41:22 17/07/2019
โรคราน้ำฝน
"โรคราน้ำฝน" ที่จะมาพร้อมกับฤดูฝนที่กำลังมา คาดน่าจะมีความรุนแรงและพบมากในพื้นที่จังหวัดตอนบนของประเทศ ได้แก่ ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยาและตาก
Last Update : 11:40:46 17/07/2019
เพลี้ยอ่อน
ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน เกษตรกรในหลายพื้นที่เริ่มเตรียมแปลงเพาะปลูกผักนานาชนิด ทั้งช่วงนี้กระแสราคาผลผลิตพืชผักราคาต่อกิโลกรัมสูงขึ้น
Last Update : 11:38:56 17/07/2019
แอ็กดิค
Brand : ยักษ์ใหญ่
Last Update : 10:30:18 30/01/2020
ออนเนอร์
Last Update : 12:04:56 01/04/2019
ไฟว์โกร
Last Update : 11:35:46 01/04/2019
แอ็กมิดา โกลด์
Last Update : 11:33:34 01/04/2019
คลอร์ดี
Last Update : 10:45:10 01/04/2019

โรคดอกเน่าในดาวเรือง(Anthracnose)

Last Update: 16:19:34 16/05/2018
Page View (1751)

โรคดอกเน่าในดาวเรือง(Anthracnose) ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา: Colletotrichum sp. มักพบการระบาดของโรคในช่วงฤดูฝนหรือในช่วงที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรผู้ปลูกดาวเรืองควรเฝ้าระวังการเกิดโรคดอกเน่า โดยเฉพาะดาวเรืองที่อยู่ในระยะเริ่มออกดอกถึงระยะดอกบาน ลักษณะอาการของโรค หากพบอาการของโรคดอกเน่า ในระยะดอกตูมจะทำให้ดอกดาวเรืองไม่บาน ถ้าหากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานอาการเน่าเป็นวงแหวน บริเวณกลางดอก โดยดอกที่เกิดโรคกลีบดอกจะเน่าเป็นสีน้ำตาลลามเข้าไปทางโคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น

วิธีการป้องกันกำจัดโรคดอกเน่าในดาวเรือง

1. หากพบอาการของโรค ให้เก็บเผาทำลาย

2. การให้น้ำ ควรงดวิธีการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ เนื่องจากจะทำให้ดอกดาวเรืองมีความชื้นมากเกินไป และเร่งการแพร่ระบาดของโรคมากขึ้น

3. การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช

3.1 ระยะต้นดาวเรือง: ก่อนออกดอก ฉีดพ่นป้องกันโรคดอกเน่า ด้วย ออนเนอร์ (prochloraz 45% W/V EC) อัตรา 10-15 มล. หรือ คลอราส์ (carbendazim 25% + prochloraz 25% WP) อัตรา 25 กรัม ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 10-14 วัน ในสภาพที่มีความชื้นสูงหรือฝนตกชุก ควรฉีดพ่นทุก 7 วัน 3.2 ระยะต้นดาวเรือง: ออกดอก-เก็บเกี่ยว ฉีดพ่นป้องกันด้วย สโตรดี้ (azoxystrobin 12%+difenoconazole 12% W/V SC)อัตรา 10-15 มล. หรือ การัน (azoxystrobin 25% W/V SC) อัตรา 10-15 มล. ฉีดพ่นทุก 10-14 วัน หากพบการระบาดของโรค ควรฉีดพ่นด้วย สโตรดี้ (azoxystrobin 12%+difenoconazole 12% W/V SC) หรือ การัน (azoxystrobin 25% W/V SC) อัตรา 10-15 มล. ร่วมกับ โบแทรน75 (dicloran 75% WP) อัตรา 10-15 กรัม หรือ เดซี่ (propineb 70% WP) อัตรา 50 - 60 กรัม หรือ มาเฟอร์ (mancozeb 80% WP) อัตรา 50-60 กรัม 2-3 ครั้ง ห่างกันไม่เกิน 7 วัน



 
© 2000-2008 CopyRight by AG-GRO (Thailand) Co.,Ltd.
Tel. 023082102  Fax. 023082487  Website. www.aggrogroups.com
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login