ว่าด้วยเรื่องของ GHS ตอนที่ 1
GHS คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรเรามาดูกันครับ
Last Update : 16:20:23 07/05/2014
การยกเคลื่อนย้ายของหนักกับการใส่เข็มขัดพยุงหลัง
ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกเคลื่อนย้ายของหนัก คือ กฎกระทรวงกำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้กำหนดให้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนัก ไม่เกินอัตราน้ำหนักต่อลูกจ้างหนึ่งคน ดังต่อไปนี้ (๑) เด็กหญิง (ตั้งแต่ ๑๕ ปี แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปี) ไม่เกิน ๒๐ กิโลกรัม (๒) เด็กชาย (ตั้งแต่ ๑๕ ปี แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปี) ไม่เกิน ๒๕ กิโลกรัม (๓) ลูกจ้างหญิง ไม่เกิน ๒๕ กิโลกรัม (๔) ลูกจ้างชาย ไม่เกิน ๕๕ กิโลกรัม
Last Update : 13:26:28 05/03/2014
ความต่างของ กัมมันตรังสี กับ กัมมันตภาพรังสี
จากกรณีที่เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น หลายคนคงสงสัยว่า กัมมันตรังสี กับ กัมมันตภาพรังสี ต่างกันอย่างไร เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ประกาศข่าวหลายช่อง ใช้ทั้งคำว่า กัมมันตรังสี กับ กัมมันตภาพรังสี จนเกิดความสับสนกันว่าควรใช้คำว่าอะไร ทั้งนี้ ที่ถูกต้องใช้คำว่า สารกัมมันตรังสี ซึ่งเป็น สสาร เป็นวัตถุจับต้องได้ที่สามารถปล่อยรังสีออกมาได้ แต่หากมีการแผ่รังสีออกมาจากสารนั้นอีกต่อจึงจะเรียกกว่า กัมมันตภาพรังสี ส่วน สารกัมมันตภาพรังสี คือ พลังงาน ที่จับต้องไม่ได้ เป็นปรากฏการณ์ที่สารกัมมันตรังสีปล่อยรังสีออกมา ดังนั้น หากเป็นเป็นสสาร จะไม่ต้องใช้คำว่า ภาพ
Last Update : 13:24:19 05/03/2014
วิธีการบำรุงรักษาตลับกรองอากาศ
เนื่องจากตลับกรองอากาศทุกรุ่นมีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบในตลับกรอง จึงควรบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี โดยมีหลักการง่ายๆ ดังนี้
Last Update : 16:26:47 29/03/2011
ถุงมือป้องกันการบาดคม Kevlar ATOM-KD441
Brand : ATOM
Model : ATOM-KD441
กลุ่มงานป้องกันการบาด
ถุงมือถักทอด้วย Kevlar แบบไร้ตะเข็บ ป้องกันการบาดดีเยี่ยม

มีคุณสมบัติบางเบา และคล่องตัวสูง

ผ่านการอบเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราและกลิ่นอับ

เหมาะสำหรับ > อุตสาหกรรมการบิน, อุตสาหกรรมเครื่องแก้ว, งานเครื่องจักร และการทำเหมืองแร่

มาตรฐาน CE : EN388

-รหัส KD441 : ขอบไร้ตะเข็บ
Last Update : 15:35:08 25/09/2019
ถุงมือป้องกันการบาด รหัส DYN
Brand : POLYFLEX
Model : DYN

กลุ่มงานป้องกันการบาด

- ถุงมือถักทอจากเส้นใยพิเศษ

- ป้องกันการบาด การเฉือน ได้ดีเยี่ยม ให้ความกระชับขณะสวมใส่

- เหมาะสำหรับ > งานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ งานแปรรูปโลหะ

- มาตรฐาน CE : EN388
Last Update : 15:31:43 25/09/2019
เข็มขัดป้องกันการตกจากที่สูง ชนิดหัวเข็มขัดแบบล็อคอัตโนมัติ
Brand : SSEDA
Model : SABN-A1-7001
เข็มขัดป้องกันการตกจากที่สูง ใช้งานง่าย เก็บได้สะดวกด้วยตัวเก็บเช็คแบบอัตโนมัติ
Last Update : 16:38:44 07/05/2014
เข็มขัดพยุงหลัง ป้องกันการปวดหลัง (Back Support High Premium Grade)
Brand : DEFEND
Model : DEFEND
เข็มขัดพยุงหลัง หรือ เข็มขัดป้องกันการปวดหลัง ใช้ป้องกันการเคลื่อนไหวผิดท่าหรือการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการยกของ หรือเคลื่อนย้ายของด้วยท่าทางซ้ำๆ
Last Update : 16:31:54 07/05/2014
เข็มขัดพยุงหลัง ป้องกันการปวดหลัง (Back Support Economy Grade)
Brand : VALECO 1
Model : VALECO 1
เข็มขัดพยุงหลัง หรือ เข็มขัดป้องกันการปวดหลัง ใช้ป้องกันการเคลื่อนไหวผิดท่าหรือการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการยกของ หรือเคลื่อนย้ายของด้วยท่าทางซ้ำๆ
Last Update : 16:31:34 07/05/2014
Test Shoot Spectacles With BB Gun
Last Update : 13:03:21 05/03/2014
Testing Helmet SSEDA
Last Update : 12:00:03 05/03/2014

การยกเคลื่อนย้ายของหนักกับการใส่เข็มขัดพยุงหลัง

Last Update: 13:26:28 05/03/2014
Page View (2179)

สาเหตุของการปวดหลังจากการทำงาน

อาการปวดหลังจากการทำงาน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มพนักงานที่ทำงานในสถานประกอบกิจการ ซึ่งมักมีอาการปวดที่บริเวณเอวและหลัง เมื่อพักผ่อนก็จะมีอาการดีขึ้น แต่เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวทำงาน ก็จะเริ่มมีอาการปวดหลังขึ้นอีก อาการปวดหลังเรื้อรังนี้จะส่งผลไปถึงการหยุดงาน การสูญเสียรายได้ การเสียค่ารักษาพยาบาล

สาเหตุ อาการปวดหลังของคนกลุ่มนี้ มักเกิดจากต้องคร่ำเคร่งกับการทำงาน ก้มตัวยกของหนัก ทำงานอยู่ในท่าเดียวกันนานๆ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ มีรายงานประเทศอุตสาหกรรม มีอุบัติการณ์ของอาการปวดหลังสูง เช่น สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยปวดหลัง ร้อยละ ๕ ของประชากรวัยทำงานทั้งหมด สำหรับประเทศไทยในแต่ละปีพนักงานในสถานประกอบกิจการประสบปัญหาบาดเจ็บจากการ ทำงานที่มีสาเหตุจากท่าทางการทำงาน และการยกเคลื่อนย้ายของหนักด้วยการใช้แรงคน จนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ทำกายภาพบำบัดมีจำนวนสูงขึ้นทุกปี เช่น พ.ศ. ๒๕๔๙ มีจำนวน ๑,๒๕๑ ราย  พ.ศ. ๒๕๕๐ มีจำนวน ๒,๓๙๕ ราย พ.ศ. ๒๕๕๑ มีจำนวน ๕,๙๒๕ ราย ตามลำดับ (สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม)

ข้อเสนอแนะการใช้เข็มขัดพยุงหลัง

เข็มขัดพยุงหลัง (Back support) นับวันพนักงานในสถานประกอบกิจการยิ่งมีความนิยมนำมาสวมใส่เสมือนเป็นอุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเช่นเดียวกับหมวกหรือรองเท้านิรภัยที่ใช้ในขณะ ทำงาน มากขึ้นทุกที

เข็มขัด พยุงหลังมีประโยชน์ในพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บและกำลังฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อ กลับเข้าทำงานเดิม การใส่จะมีประโยชน์มากในช่วงแรก เพื่อลดอาการเจ็บ แต่ควรจะใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ

การที่คิดว่าการใส่เข็มขัดพยุงหลังแล้วจะป้องกันอาการปวดหลังได้นั้นเป็นความคิดที่ผิด เพราะการป้องกันอาการปวดหลังจากการทำงาน ต้องอาศัยการจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสม น้ำหนักวัตถุที่จะยกไม่หนักเกินกำลัง เมื่อใดที่ยกของหนักเกินกำลังของตนเอง และต้องบิดตัวขณะยก ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เข็มขัดพยุงหลังก็จะมีโอกาสปวดหลังได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น พนักงานที่ไม่มีอาการบาดเจ็บหรือปวดหลังไม่จำเป็นต้องใส่เข็มขัดพยุงหลัง นอกจากสิ้นเปลืองแล้ว ยังมีผลต่อสุขภาพร่างกายดังนี้

(๑) กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวทำงานลดลง

เข็มขัด พยุงหลังในทางการแพทย์จะใช้พยุงหลังบรรเทาอาการปวด ในกรณีที่กระดูกสันหลังเคลื่อนหรือหลังผ่าตัดหลัง เพื่อช่วยทำงานแทนกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแอไปหลังจากการผ่าตัด และทำให้การซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บเร็วขึ้น เพราะกล้ามเนื้อทำงานน้อยลง แต่การใส่ระยะยาวจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวทำงานลดลง

มีการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า อัตราการบาดเจ็บหรือปวดหลังระหว่างพนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังกับพนักงานที่ไม่ใส่มีอัตราที่ไม่แตกต่างกัน แต่ พนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังมีการบาดเจ็บที่รุนแรงมากกว่า เนื่องจากพนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังจะรู้สึกมั่นใจมากเมื่อยกของหนัก คิดว่าตนเองมีความปลอดภัยแล้ว ความมั่นใจนี้จะมีผลเสียทำให้ยกของหนักโดยไม่ระมัดระวังเท่ากับในขณะที่ไม่ ได้ใส่เข็มขัดพยุงหลัง

(๒) เกิดไส้เลื่อน ริดสีดวงทวาร เส้นเลือดขอด และความดันเลือดเพิ่มขึ้น

ได้ มีการศึกษาโดยการตรวจวัดความดันเลือดของพนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังในขณะ ยกของหนัก นั่ง และทำงานเบา พบว่า การใส่เข็มขัดพยุงหลังทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งอธิบายได้ว่า การใส่เข็มขัดพยุงหลังจะมีความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ปริมาณเลือดที่ไหลกลับเข้าหัวใจเร็วขึ้น ทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น ผู้ที่มีความดันเลือดสูงอยู่แล้วก็จะสูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผลระยะยาวจากการใส่เข็มขัดพยุงหลังที่ทำให้ความดันในช่องท้องสูงนานๆ อาจทำให้เกิดไส้เลื่อน ริดสีดวงทวาร เส้นเลือดขอดที่ขาและถุงอัณฑะได้

การป้องกันอาการปวดหลัง

อาการ ปวดหลังนี้ แพทย์และนักกายภาพบำบัดเป็นเพียงผู้ช่วยให้อาการปวดทุเลา ซึ่งอาจกลับเป็นได้อีก แต่การปวดหลังนี้สามารถที่จะป้องกันได้ โดยการปฏิบัติดังนี้

(๑) การยกของหนัก ท่าทางในการยกต้องทำให้ถูกวิธีโดยยืนให้ชิดสิ่งของที่จะยก ย่อเข่าให้หลังเป็นแนวตรง แขนแนบชิดลำตัว และอย่ายกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป

(๒) หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดียวนานๆ โดยเฉพาะท่านั่ง

(๓) การยืนทำงานนานๆ ควรมีที่พักเท้า

(๔) อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไป ซึ่งมีเกณฑ์มาตรฐานดังนี้

เพศชาย : ส่วนสูง (เซนติเมตร) – ๑๐๕ = น้ำหนัก ± ๑๐ กิโลกรัม

เพศหญิง: ส่วนสูง (เซนติเมตร) – ๑๑๐ = น้ำหนัก ± ๑๐ กิโลกรัม

เช่น เพศชาย สูง ๑๗๐ เซนติเมตร น้ำหนักควรอยู่ระหว่าง ๖๕ ± ๑๐ กิโลกรัม (๕๕ – ๗๕ กิโลกรัม) เป็นต้น

(๕) ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องและหลังแข็งแรง เช่น การใช้วิธีนอนคว่ำ นำหมอนหนุนใต้ท้อง ค่อยๆยกศีรษะขึ้น ค้างไว้ ๓ – ๕ วินาที แล้วค่อยๆลดศีรษะลง โดยทำซ้ำ ๕ – ๑๐ ครั้ง เป็นต้น

(๖) เมื่อมีอาการปวดหลัง อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางบริเวณที่ปวดนาน ๒๐ – ๓๐ นาที แต่ถ้ามีอาการปวดร้าวลงขา อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

 

ที่มา : http://www.escopremium.com/articles/id=20



 
© 2000-2008 CopyRight by Esco Premium Co., Ltd.
Tel. 02-509-0099  Fax. 02-5091737-8  Website. http://www.escopremium.com/
disclaimer | privacy | contact us

  Sale Login Warehouse Login Driver Login